การจัดตั้งอาเซียน
|
ประวัติการจัดตั้งอาเซียน
1. อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา (Association of Southeast Asia - ASA) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ได้ถูกยกเลิกไปหลังจากดำเนินการได้ 2 ปี เนื่องจากปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย และการที่ไทยเสียดินแดนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา 2. ต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของ 5 ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ได้ลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพฯ" (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค รวมทั้งเปิดโอกาสในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งนี้ ก่อนหน้าการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้ง 5 ประเทศ ได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี 3. อาเซียนได้พยายามแสดงบทบาทในการรักษาและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและความเจริญร่วมกันในภูมิภาค ตลอดจนมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก มีพัฒนาการในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม จนเป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศ และนำไปสู่การขยายสมาชิกภาพ โดยบรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 (เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527) เวียดนาม ลำดับที่ 7 (เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538) ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน (เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540) และกัมพูชา (เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542) |
.
วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ประวัติการจัดตั้งอาเซียน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
บทบาทของไทยในอาเซียน ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียนและได้มีบทบาทเข้มแข็งเสมอมาในการผลักดันให้สมาคมอาเซี...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น